วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลักการอ่านภาษาไทย

  
ความเป็นมาของภาษาไทย
เริ่มในสมัยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1826  โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงดัดแปลงมาจากอักษรของขอมและอักษรมอญโบราณ นำมาประดิษฐ์ใหม่เป็นตัวอักษรของชาติไทย ระยะแรกพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เรียงแถวกันในบรรทัดเดียวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ซึ่งบางตัวอยู่ข้างล่าง ข้างบน ข้างหน้า และข้างหลัง ดังปรากฏที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
            ภาษาไทย เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย

ภาษาไทยสำคัญอย่างไร
1.  เป็นเอกลักษณ์ของชาติ
2. เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
3. ใช้ถ่ายถอด เรื่องราว  ขนบธรรมเนียม ประเพณี  ประวัติศาสตร์
4.  เป็นเครื่องมือที่จะใช้ศึกษาเนื้อหาสาระของสาขาวิชาอื่น ๆ
5.  เป็นเครื่องมือสื่อสารของคนในประเทศ
6.  ใช้ประกอบอาชีพได้                                                          
หลักการอ่าน
     การอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านออกเสียงหรืออ่านในใจ มิใช่สักแต่อ่านหนังสือออก
เท่านั้นแต่ต้องมีคุณสมบัติของผู้ที่อ่านเป็นด้วยจึงจะทำให้การอ่านนั้นได้ความหมายได้อรรถรส ตรงตามจุดมุ่งหมายของผู้เขียน และลักษณะของผู้ที่อ่านเป็นนั้น ถือว่าเป็นผู้อ่านที่มี ประสิทธิภาพในการอ่าน
ลักษณะของผู้ที่อ่านเป็น
     ๑.  อ่านแล้วรู้เรื่องราวได้ตลอดแจ่มแจ้ง คือ อ่านแล้วจับใจความของเรื่องที่อ่านได้ตลอด
ทั้งเรื่อง ไม่ใช่รู้เพียงบางส่วน นอกจากนั้นต้องเข้าใจความหมายในเนื้อหาของเรื่องที่อ่านได้
ถูกต้องด้วย
     ๒.  ได้รับรสชาติจากการอ่าน หมายถึง เมื่ออ่านเรื่องใดก็ตามย่อมเกิดความซาบซึ้ง ตามเนื้อหา สำนวนและวิธีการประพันธ์นั้น ๆ เกิดอารมณ์ร่วมและมองเห็นภาพพจน์ ตามที่ผู้ประพันธ์บรรยาย
     ๓.  วินิจฉัยคุณค่าของหนังสือที่อ่านได้ว่า มีคุณค่าหรือประโยชน์แง่ใด มีคุณค่ามากน้อย เพียงใด หรือควรให้ความสนใจมากน้อยเพียงใด หนังสือใดเหมาะสมกับบุคคลประเภทใด เป็นต้น
     ๔.  รู้จักนำสิ่งที่เป็นประโยชน์จากหนังสือที่อ่านมาใช้ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ หนังสือทุกเรื่องที่อ่านย่อมมีคุณค่า มากบ้างน้อยบ้างในแง่ต่าง ๆ การรู้จักวินิจฉัยและรู้จัก ค้นหาสิ่งที่เป็นประโยชน์จากหนังสือที่อ่านนำมาใช้ได้เหมาะสม เป็นวิธีการอย่างหนึ่ง ของการรับสารที่มีประสิทธิภาพ
     ๕.  รู้จักเลือกหนังสือที่อ่านได้เหมาะสมตามความต้องการในแต่ละโอกาส หรือรู้จัก เลือกหนังสืออ่านได้ตรงตามความมุ่งหมายนั่นเอง
ประเภทของการอ่าน
     การอ่านแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ อ่านออกเสียง และ อ่านในใจ
     การอ่านออกเสียง หมายถึง การอ่านที่ผู้อื่นสามารถได้ยินเสียงอ่านด้วยการอ่าน ออกเสียงมักไม่นิยมอ่าน เพื่อการรับสารโดยตรง เพียงคนเดียว เว้นแต่ในบางครั้งเราอ่าน บทประพันธ์เป็นท่วงทำนองเพื่อความไพเราะเพลิดเพลินส่วนตัว แต่ส่วนใหญ่แล้ว การอ่านออกเสียงมักเป็นการอ่านให้ผู้อื่นฟัง การอ่านประเภทนี้มีหลายโอกาสคือ
๑. การอ่านออกเสียงเพื่อบุคคลในครอบครัวหรือผู้ที่คุ้นเคย
     เป็นการอ่านที่ไม่เป็นทางการ การอ่านเพื่อบุคคลในครอบครัว เช่น อ่านนิทาน หนังสือพิมพ์ ข่าว จดหมาย ใบปลิว คำโฆษณา ใบประกาศ หนังสือวรรณคดีต่าง ๆ เป็นการอ่านสู่กันฟัง หรืออ่านให้เพื่อนฟัง   อ่านให้คนบางคนที่อ่านหนังสือไม่ออก หรือมองไม่เห็นฟัง   เป็นต้น
๒.การอ่านออกเสียงที่เป็นทางการหรืออ่านในเรื่องของหน้าที่การงาน
     เป็นการอ่านที่เป็นทางการ มีระเบียบแบบแผนเป็นการอ่านที่รัดกุมกว่าการอ่านออกเสียง เพื่อบุคคล ในครอบครัวหรือผู้ที่คุ้นเคย เช่น การอ่านในห้องเรียน อ่านที่ประชุม อ่านรายงาน อ่านในพิธีเปิดงาน อ่านคำปราศรัย อ่านสารในโอกาสที่สำคัญต่าง ๆ การอ่านของสื่อมวลชน เป็นต้น
     การอ่านออกเสียงให้ผู้อื่นฟัง จะต้องอ่านให้ชัดเจนถูกต้องได้ข้อความครบถ้วนสมบูรณ์ มีลีลาการอ่าน ที่น่าสนใจและน่าติดตามฟังจนจบ
จุดมุ่งหมายในการอ่านออกเสียง
     ๑. เพื่อให้อ่านออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขรวิธี
     ๒. เพื่อให้รู้จักใช้น้ำเสียงบอกอารมณ์และความรู้สึกให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเรื่อง ที่อ่าน
     ๓. เพื่อให้เข้าใจเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง
     ๔. เพื่อให้ผู้อ่านและผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่านได้ชัดเจน
     ๕. เพื่อให้ผู้อ่านและผู้ฟังเกิดความเพลิดเพลิน
      ๖. เพื่อเป็นการรับสารและส่งสารวิธีหนึ่ง
หลักการอ่านออกเสียง
     ๑. อ่านออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจน
     ๒. อ่านให้ดังพอที่ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง
     ๓. อ่านให้เป็นเสียงพูดโดยธรรมชาติ
     ๔. รู้จักทอดจังหวะและหยุดหายใจเมื่อจบข้อความตอนหนึ่ง ๆ
     ๕. อ่านให้เข้าลักษณะของเนื้อเรื่อง เช่น บทสนทนา ต้องอ่านให้เหมือนการสนทนากัน
อ่านคำบรรยาย พรรณนาความรู้สึก หรือปาฐกถาก็อ่านให้เข้ากับลักษณะของเรื่องนั้น ๆ
     ๖. อ่านออกเสียงและจังหวะให้เป็นไปตามเนื้อเรื่อง เช่น ดุหรือโกรธ ก็ทำเสียง แข็งและเร็ว ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับคร่ำครวญ อ้อนวอน ก็ทอดเสียงให้ช้าลง เป็นต้น
     ๗. ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ด้วย
          ๗.๑ สัมผัสครุ ลหุ ต้องอ่านให้ถูกต้อง
          ๗.๒ เน้นคำรับสัมผัสและอ่านเอื้อสัมผัสใน เพื่อเพิ่มความไพเราะ
          ๗.๓ อ่านให้ถูกต้องตามจังหวะและทำนองนิยม ตามลักษณะของร้อยกรองนั้น ๆ
     ยังมีการอ่านออกเสียงอีกประการหนึ่ง การอ่านทำนองเสนาะ เป็นลักษณะการอ่าน ออกเสียง ที่มีจังหวะทำนองและออกเสียงสูงต่ำเพื่อให้เกิดความไพเราะ การอ่านทำนอง เสนาะนี้ผู้อ่านจะต้องเข้าใจลักษณะบังคับของคำประพันธ์แต่ละชนิดและรู้วิธีอ่านออกเสียง สูงต่ำ การทอดเสียง การเอื้อนเสียง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของคำประพันธ์ชนิดต่าง ๆ ด้วย การอ่านทำนองเสนาะนี้ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาช้านาน ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทย ทุกคนควรภูมิใจและรักษาวัฒนธรรมล้ำค่านี้ไว้เพื่อถ่ายทอดสืบต่อกันไปชั่วลูกชั่วหลาน
หลักการอ่านทำนองเสนาะ
     ๑. ศึกษาลักษณะบังคับของคำประพันธ์แต่ละชนิดที่อ่านให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
     ๒. อ่านให้ถูกต้องตามลักษณะของคำประพันธ์ชนิดนั้น ๆ เช่น การแบ่งวรรค บทสัมผัส
การออกเสียงสูงต่ำ
     ๓. อ่านออกเสียงให้ถูกต้อง ชัดเจน
     ๔. ใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมกับบทบาทเนื้อเรื่องที่อ่าน บทโกรธ บทเศร้า ต้องรู้จักใช้เสียง
ให้ผู้ฟัง เกิดอารมณ์คล้อยตาม
     ๕. คำนึงถึงความไพเราะและท่วงทำนองและคำประพันธ์นั้น ๆ โดยการทอดจังหวะ
เอื้อนเสียง เน้นเสียง เป็นต้น
การอ่านในใจ
     การอ่านใจในถือว่าเป็นการอ่านเพื่อพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ อันได้แก่
     -   พัฒนาด้านความรู้ คือ ได้ทั้งความรู้รอบตัวและความรู้เฉพาะด้าน
     -   พัฒนาด้านอารมณ์ ช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน บันเทิงใจคลายความขุ่นมัวต่าง ๆ
     -   พัฒนาคุณธรรม การมีคุณธรรมย่อมเกิดมาจากความจรรโลงใจซึ่งได้จากการอ่าน หนังสือประเภทธรรมะ ชีวประวัติ สารคดี ฯลฯ
     การอ่านในใจจึงเป็นวิธีการศึกษาอย่างหนึ่ง เพื่อเรียนรู้และเข้าใจประสบการณ์ใหม่ ๆ ซึ่งช่วยให้มนุษย์เกิดการปรับตัวเพื่อการดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข
จุดมุ่งหมายในการอ่านในใจ
     ๑. เพื่อจับใจความได้ถูกต้องรวดเร็ว
     ๒. เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและความคิดกว้างขวางลึกซึ้ง เป็นการเสริมสร้าง
ประสบการณ์ชีวิต
     ๓. เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินและเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
     ๔. เพื่อให้สามารถถ่ายทอดสิ่งที่อ่านให้ผู้อื่นรับรู้ได้โดยไม่ผิดพลาด
หลักการอ่านในใจ
     ๑. ตั้งสมาธิให้แน่วแน่
     ๒. กะระยะช่วงสายตาแต่ละคราวให้กว้างที่สุด จะทำให้อ่านได้รวดเร็ว ไม่ควรมองเป็น
คำ ๆ เพราะทำให้อ่านช้าและจับใจความไม่ได้
     ๓. การเคลื่อนไหวสายตาจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งไม่ควรบ่อยครั้ง แต่ควรเป็นไปอย่างมี
จังหวะและแน่นอน ไม่ควรส่ายตาไปตามเส้นบรรทัด
     ๔. ไม่ควรอ่านย้อนกลับเพื่อทบทวนใหม่บ่อย ๆ ทำให้อ่านช้า
     ๕. การเปลี่ยนบรรทัดต้องให้แม่นยำ พยายามอย่ากลับไปอ่านซ้ำบรรทัดเดิมอีก
     ๖. ไม่ทำปากขมุบขมิบหรือออกเสียงในเวลาอ่าน
     ๗. ไม่ใช้นิ้ว ปากกา หรือดินสอ ชี้ที่ตัวหนังสือทีละตัว
     ๘. จับใจความสำคัญและใจความประกอบให้ได้ พิจารณาให้เข้าใจ
     ๙. บันทึกความรู้ ความเข้าใจ และความคิดไว้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

เรียนภาษาไทยอย่างไรให้สนุก
   ในวิถีแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารไร้พรมแดน ท่ามกลางสังคมที่มีค่านิยมยอมรับนับถือวัตถุมากกว่าคุณค่าของจิตใจนั้น หลายๆสิ่งกำลังเจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่มีขีดจำกัด ในขณะที่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่กำลังดำดิ่งลงสู่ห้วงเหวแห่งหายนะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็คือ ความเป็นไทยและภาษาไทย ภาษาชาติของเรานั่นเอง ที่กำลังถูกค่านิยมของคนรุ่นใหม่รุกรานจนแทบไม่หลงเหลือเค้าเดิมอยู่เลย
        ปัญหาการใช้ภาษาไทยนั้นเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆจนในขณะนี้ลุกลามไปทุกหย่อมหญ้า แม้แต่ในสถานศึกษาอันเป็นแหล่งหล่อหลอมความรู้ก็มิได้ละเว้น ภาษาไทยกลายเป็นวิชาที่น่าเบื่อของผู้เรียน และสุดท้ายผู้เรียนจึงได้รับความรู้แบบงูๆปลาๆที่จะนำไปใช้ต่อไปอย่างผิดๆ หากเราจะแยกปมปัญหาการใช้ภาษาไทยในโรงเรียนนั้น สามารถแยกเป็นประเด็นใหญ่ๆ ได้       ๒ ประเด็น คือ
        ๑.ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจาก ครู เนื่องจากครู คือ ผู้ประสาทวิชา เป็นผู้ให้ความรู้แก่ศิษย์ ดังนั้นความรู้ในด้านต่างๆ เด็กๆจึงมักจะได้รับมาจากครูเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ครูบางคนนั้นมีความรู้แต่ไม่แตกฉาน โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่มีความละเอียดอ่อน และมีส่วนประกอบแยกย่อยอย่างละเอียดลออ เมื่อครูไม่เข้าใจภาษาไทยอย่างกระจ่าง จึงทำให้นักเรียนไม่เข้าใจตามไปด้วย จนพานเกลียดภาษาไทยไปในที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาที่ปรากฏให้เห็นอยู่มากมายในปัจจุบัน
         ความเป็นครูนั้น แน่นอนการสอนย่อมสำคัญที่สุด ครูบางคนมีความรู้อยู่ในหัวเต็มไปหมดแต่กลับสอนไม่เป็น ซึ่งครูส่วนใหญ่มิได้ยอมรับปัญหานี้ บางคนสักแต่ว่าสอน แต่ไม่เข้าใจเด็กว่าทำอย่างไร อธิบายอย่างไร เด็กซึ่งเปรียบเสมือนผ้าข้าวนั้นจะซึมซับเอาความรู้จากท่านไปได้มากที่สุด การทำความเข้าใจเด็กจึงเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญไม่แพ้ภูมิความรู้ที่มีอยู่ในตัวครูเลย   ครูจึงควรหันกลับมายอมรับความจริง และพยายามปรับปรุงแก้ไขตนเองให้เหมาะสมกับที่เป็นผู้รู้ที่คนทั่วไปยอมรับนับถือ
         ๒. ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากนักเรียน ในสังคมยุคไซเบอร์ ซึ่งสามารถเข้าไปใช้บริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ทุกภาคส่วน เด็กซึ่งเป็นวัยที่อยากรู้อยากลองจึงมิได้ให้ความสนใจเพียงแค่การศึกษาค้นคว้าข้อมูลการศึกษาเท่านั้น หากแต่สนใจกับภาคบันเทิงควบคู่ไปด้วย และโดยแท้จริงแล้ว มักจะให้ความสำคัญกับประเด็นหลังมากกว่าการค้นคว้าความรู้เสียด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กนั้นเป็นปมปัญหาสำคัญยิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตนั้นเริ่มลุกลามมาจากโปรแกรมแช็ทรูมและเกมออนไลน์ ซึ่งดูคล้ายเป็นการสนทนากันธรรมดา แต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสแล้ว มิใช่เลย การสนทนาอันไม่มีขีดจำกัดของภาษาทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย ดังเช่นที่พบตามหน้าหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน และในขณะเดียวกันก็สร้างปัญหาให้แก่วงการภาษาไทยด้วย นั่นคือการกร่อนคำ
และการสร้างคำใหม่ให้มีความหมายแปลกไปจากเดิม หรืออย่างที่เรียกว่าภาษาเด็กแนวนั่นเอง

หลักการอ่านภาษาไทย

หลักการอ่าน
     การอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านออกเสียงหรืออ่านในใจ มิใช่สักแต่อ่านหนังสือออก
เท่านั้นแต่ต้องมีคุณสมบัติของผู้ที่อ่านเป็นด้วยจึงจะทำให้การอ่านนั้นได้ความหมายได้อรรถรส ตรงตามจุดมุ่งหมายของผู้เขียน และลักษณะของผู้ที่อ่านเป็นนั้น ถือว่าเป็นผู้อ่านที่มี ประสิทธิภาพในการอ่าน
ลักษณะของผู้ที่อ่านเป็น
     ๑.  อ่านแล้วรู้เรื่องราวได้ตลอดแจ่มแจ้ง คือ อ่านแล้วจับใจความของเรื่องที่อ่านได้ตลอด
ทั้งเรื่อง ไม่ใช่รู้เพียงบางส่วน นอกจากนั้นต้องเข้าใจความหมายในเนื้อหาของเรื่องที่อ่านได้
ถูกต้องด้วย
     ๒.  ได้รับรสชาติจากการอ่าน หมายถึง เมื่ออ่านเรื่องใดก็ตามย่อมเกิดความซาบซึ้ง ตามเนื้อหา สำนวนและวิธีการประพันธ์นั้น ๆ เกิดอารมณ์ร่วมและมองเห็นภาพพจน์ ตามที่ผู้ประพันธ์บรรยาย
     ๓.  วินิจฉัยคุณค่าของหนังสือที่อ่านได้ว่า มีคุณค่าหรือประโยชน์แง่ใด มีคุณค่ามากน้อย เพียงใด หรือควรให้ความสนใจมากน้อยเพียงใด หนังสือใดเหมาะสมกับบุคคลประเภทใด เป็นต้น
     ๔.  รู้จักนำสิ่งที่เป็นประโยชน์จากหนังสือที่อ่านมาใช้ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ หนังสือทุกเรื่องที่อ่านย่อมมีคุณค่า มากบ้างน้อยบ้างในแง่ต่าง ๆ การรู้จักวินิจฉัยและรู้จัก ค้นหาสิ่งที่เป็นประโยชน์จากหนังสือที่อ่านนำมาใช้ได้เหมาะสม เป็นวิธีการอย่างหนึ่ง ของการรับสารที่มีประสิทธิภาพ
     ๕.  รู้จักเลือกหนังสือที่อ่านได้เหมาะสมตามความต้องการในแต่ละโอกาส หรือรู้จัก เลือกหนังสืออ่านได้ตรงตามความมุ่งหมายนั่นเอง
ประเภทของการอ่าน
     การอ่านแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ อ่านออกเสียง และ อ่านในใจ
     การอ่านออกเสียง หมายถึง การอ่านที่ผู้อื่นสามารถได้ยินเสียงอ่านด้วยการอ่าน ออกเสียงมักไม่นิยมอ่าน เพื่อการรับสารโดยตรง เพียงคนเดียว เว้นแต่ในบางครั้งเราอ่าน บทประพันธ์เป็นท่วงทำนองเพื่อความไพเราะเพลิดเพลินส่วนตัว แต่ส่วนใหญ่แล้ว การอ่านออกเสียงมักเป็นการอ่านให้ผู้อื่นฟัง การอ่านประเภทนี้มีหลายโอกาสคือ
๑. การอ่านออกเสียงเพื่อบุคคลในครอบครัวหรือผู้ที่คุ้นเคย
     เป็นการอ่านที่ไม่เป็นทางการ การอ่านเพื่อบุคคลในครอบครัว เช่น อ่านนิทาน หนังสือพิมพ์ ข่าว จดหมาย ใบปลิว คำโฆษณา ใบประกาศ หนังสือวรรณคดีต่าง ๆ เป็นการอ่านสู่กันฟัง หรืออ่านให้เพื่อนฟัง   อ่านให้คนบางคนที่อ่านหนังสือไม่ออก หรือมองไม่เห็นฟัง   เป็นต้น
๒.การอ่านออกเสียงที่เป็นทางการหรืออ่านในเรื่องของหน้าที่การงาน
     เป็นการอ่านที่เป็นทางการ มีระเบียบแบบแผนเป็นการอ่านที่รัดกุมกว่าการอ่านออกเสียง เพื่อบุคคล ในครอบครัวหรือผู้ที่คุ้นเคย เช่น การอ่านในห้องเรียน อ่านที่ประชุม อ่านรายงาน อ่านในพิธีเปิดงาน อ่านคำปราศรัย อ่านสารในโอกาสที่สำคัญต่าง ๆ การอ่านของสื่อมวลชน เป็นต้น
     การอ่านออกเสียงให้ผู้อื่นฟัง จะต้องอ่านให้ชัดเจนถูกต้องได้ข้อความครบถ้วนสมบูรณ์ มีลีลาการอ่าน ที่น่าสนใจและน่าติดตามฟังจนจบ
จุดมุ่งหมายในการอ่านออกเสียง
     ๑. เพื่อให้อ่านออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขรวิธี
     ๒. เพื่อให้รู้จักใช้น้ำเสียงบอกอารมณ์และความรู้สึกให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเรื่อง ที่อ่าน
     ๓. เพื่อให้เข้าใจเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง
     ๔. เพื่อให้ผู้อ่านและผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่านได้ชัดเจน
     ๕. เพื่อให้ผู้อ่านและผู้ฟังเกิดความเพลิดเพลิน
      ๖. เพื่อเป็นการรับสารและส่งสารวิธีหนึ่ง
หลักการอ่านออกเสียง
     ๑. อ่านออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจน
     ๒. อ่านให้ดังพอที่ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง
     ๓. อ่านให้เป็นเสียงพูดโดยธรรมชาติ
     ๔. รู้จักทอดจังหวะและหยุดหายใจเมื่อจบข้อความตอนหนึ่ง ๆ
     ๕. อ่านให้เข้าลักษณะของเนื้อเรื่อง เช่น บทสนทนา ต้องอ่านให้เหมือนการสนทนากัน
อ่านคำบรรยาย พรรณนาความรู้สึก หรือปาฐกถาก็อ่านให้เข้ากับลักษณะของเรื่องนั้น ๆ
     ๖. อ่านออกเสียงและจังหวะให้เป็นไปตามเนื้อเรื่อง เช่น ดุหรือโกรธ ก็ทำเสียง แข็งและเร็ว ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับคร่ำครวญ อ้อนวอน ก็ทอดเสียงให้ช้าลง เป็นต้น
     ๗. ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ด้วย
          ๗.๑ สัมผัสครุ ลหุ ต้องอ่านให้ถูกต้อง
          ๗.๒ เน้นคำรับสัมผัสและอ่านเอื้อสัมผัสใน เพื่อเพิ่มความไพเราะ
          ๗.๓ อ่านให้ถูกต้องตามจังหวะและทำนองนิยม ตามลักษณะของร้อยกรองนั้น ๆ
     ยังมีการอ่านออกเสียงอีกประการหนึ่ง การอ่านทำนองเสนาะ เป็นลักษณะการอ่าน ออกเสียง ที่มีจังหวะทำนองและออกเสียงสูงต่ำเพื่อให้เกิดความไพเราะ การอ่านทำนอง เสนาะนี้ผู้อ่านจะต้องเข้าใจลักษณะบังคับของคำประพันธ์แต่ละชนิดและรู้วิธีอ่านออกเสียง สูงต่ำ การทอดเสียง การเอื้อนเสียง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของคำประพันธ์ชนิดต่าง ๆ ด้วย การอ่านทำนองเสนาะนี้ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาช้านาน ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทย ทุกคนควรภูมิใจและรักษาวัฒนธรรมล้ำค่านี้ไว้เพื่อถ่ายทอดสืบต่อกันไปชั่วลูกชั่วหลาน
หลักการอ่านทำนองเสนาะ
     ๑. ศึกษาลักษณะบังคับของคำประพันธ์แต่ละชนิดที่อ่านให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
     ๒. อ่านให้ถูกต้องตามลักษณะของคำประพันธ์ชนิดนั้น ๆ เช่น การแบ่งวรรค บทสัมผัส
การออกเสียงสูงต่ำ
     ๓. อ่านออกเสียงให้ถูกต้อง ชัดเจน
     ๔. ใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมกับบทบาทเนื้อเรื่องที่อ่าน บทโกรธ บทเศร้า ต้องรู้จักใช้เสียง
ให้ผู้ฟัง เกิดอารมณ์คล้อยตาม
     ๕. คำนึงถึงความไพเราะและท่วงทำนองและคำประพันธ์นั้น ๆ โดยการทอดจังหวะ
เอื้อนเสียง เน้นเสียง เป็นต้น
การอ่านในใจ
     การอ่านใจในถือว่าเป็นการอ่านเพื่อพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ อันได้แก่
     -   พัฒนาด้านความรู้ คือ ได้ทั้งความรู้รอบตัวและความรู้เฉพาะด้าน
     -   พัฒนาด้านอารมณ์ ช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน บันเทิงใจคลายความขุ่นมัวต่าง ๆ
     -   พัฒนาคุณธรรม การมีคุณธรรมย่อมเกิดมาจากความจรรโลงใจซึ่งได้จากการอ่าน หนังสือประเภทธรรมะ ชีวประวัติ สารคดี ฯลฯ
     การอ่านในใจจึงเป็นวิธีการศึกษาอย่างหนึ่ง เพื่อเรียนรู้และเข้าใจประสบการณ์ใหม่ ๆ ซึ่งช่วยให้มนุษย์เกิดการปรับตัวเพื่อการดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข
จุดมุ่งหมายในการอ่านในใจ
     ๑. เพื่อจับใจความได้ถูกต้องรวดเร็ว
     ๒. เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและความคิดกว้างขวางลึกซึ้ง เป็นการเสริมสร้าง
ประสบการณ์ชีวิต
     ๓. เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินและเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
     ๔. เพื่อให้สามารถถ่ายทอดสิ่งที่อ่านให้ผู้อื่นรับรู้ได้โดยไม่ผิดพลาด
หลักการอ่านในใจ
     ๑. ตั้งสมาธิให้แน่วแน่
     ๒. กะระยะช่วงสายตาแต่ละคราวให้กว้างที่สุด จะทำให้อ่านได้รวดเร็ว ไม่ควรมองเป็น
คำ ๆ เพราะทำให้อ่านช้าและจับใจความไม่ได้
     ๓. การเคลื่อนไหวสายตาจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งไม่ควรบ่อยครั้ง แต่ควรเป็นไปอย่างมี
จังหวะและแน่นอน ไม่ควรส่ายตาไปตามเส้นบรรทัด
     ๔. ไม่ควรอ่านย้อนกลับเพื่อทบทวนใหม่บ่อย ๆ ทำให้อ่านช้า
     ๕. การเปลี่ยนบรรทัดต้องให้แม่นยำ พยายามอย่ากลับไปอ่านซ้ำบรรทัดเดิมอีก
     ๖. ไม่ทำปากขมุบขมิบหรือออกเสียงในเวลาอ่าน
     ๗. ไม่ใช้นิ้ว ปากกา หรือดินสอ ชี้ที่ตัวหนังสือทีละตัว
     ๘. จับใจความสำคัญและใจความประกอบให้ได้ พิจารณาให้เข้าใจ
     ๙. บันทึกความรู้ ความเข้าใจ และความคิดไว้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ความเป็นมาของภาษาไทย

      เริ่มในสมัยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1826  โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงดัดแปลงมาจากอักษรของขอมและอักษรมอญโบราณ นำมาประดิษฐ์ใหม่เป็นตัวอักษรของชาติไทย ระยะแรกพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เรียงแถวกันในบรรทัดเดียวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ซึ่งบางตัวอยู่ข้างล่าง ข้างบน ข้างหน้า และข้างหลัง ดังปรากฏที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ภาษาไทย เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย
ภาษาไทยสำคัญ
                1.  เป็นเอกลักษณ์ของชาติ
                2.   เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
                3.   ใช้ถ่ายถอด เรื่องราว  ขนบธรรมเนียม ประเพณี  ประวัติศาสตร์
                4.  เป็นเครื่องมือที่จะใช้ศึกษาเนื้อหาสาระของสาขาวิชาอื่น ๆ
                5.  เป็นเครื่องมือสื่อสารของคนในประเทศ
                6.  ใช้ประกอบอาชีพได้           

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทำไมฉันถึงต้องเรียนสาขา ภาษาไทย

เพราะเป็นอาชีพที่ดิฉันมีความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็กและอยากสอนให้เด็กมีความรู้  อีกอย่างคือดิฉันได้เรียนวิชาภาษาไทยกับคุณครูที่สอนเก่ง  พูดเสียงดังฟังชัดเอาใจใส่นักเีรียน  ดิฉันจึงอยากเป็นคุณครูภาษาไทยที่เก่งเหมือนกับท่านและภาษาไทยนั้นเป็นภาษาที่เราใช้สื่อสารดิฉันจึงอยากเรียนรู้ในภาษาของตนเอง