เริ่มในสมัยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1826 โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงดัดแปลงมาจากอักษรของขอมและอักษรมอญโบราณ นำมาประดิษฐ์ใหม่เป็นตัวอักษรของชาติไทย ระยะแรกพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เรียงแถวกันในบรรทัดเดียวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ซึ่งบางตัวอยู่ข้างล่าง ข้างบน ข้างหน้า และข้างหลัง ดังปรากฏที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ภาษาไทย เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบตภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย
ภาษาไทยสำคัญ
1. เป็นเอกลักษณ์ของชาติ
2. เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
3. ใช้ถ่ายถอด เรื่องราว ขนบธรรมเนียม ประเพณี ประวัติศาสตร์
2. เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
3. ใช้ถ่ายถอด เรื่องราว ขนบธรรมเนียม ประเพณี ประวัติศาสตร์
4. เป็นเครื่องมือที่จะใช้ศึกษาเนื้อหาสาระของสาขาวิชาอื่น ๆ
5. เป็นเครื่องมือสื่อสารของคนในประเทศ
6. ใช้ประกอบอาชีพได้
5. เป็นเครื่องมือสื่อสารของคนในประเทศ
6. ใช้ประกอบอาชีพได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น