1. ความเข้าใจจุดประสงค์หรือเจตนารมณ์ของผู้เขียนและความหมายของสิ่งที่ผู้เขียนได้เขียน | ||
การแสดงเจตนาของผู้เขียนนั้นมีทั้งแสดงไว้ โดยชัดเจนและโดยซ่อนเร้น การแสดงเจตนาโดยชัดเจน ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องใช้ความคิด พิจารณามากมายนัก การแสดงเจตนาโดยซ่อนเร้น คือ ไม่บอกเจตนาตรง ๆ กล่าวถึงเรื่องหนึ่งแต่ มีความหมายถึงสิ่งหนึ่งก็ได้ การเข้าใจความหมายของ เจตนาดังกล่าว ผู้อ่านจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และเข้าถึงความหมายของคำและข้อความนั้น ๆ เสียก่อน | ||
2. แนวคิดสำคัญที่ได้จากการอ่าน | ||
ที่ผู้เขียนอาจเสนออย่างจงใจหรือไม่จงใจก็ได้ การค้นหาสารเป็นขั้นตอนสำคัญในการเข้าถึงเรื่องที่อ่าน ซึ่งผู้อ่านต้องมีความรู้ ความสามารถในการอ่านและเข้าใจโครงสร้างของงานประพันธ์แต่ละประเภทให้ชัดเจน การค้นหาสารำสำคัญมิใช่การแปลความหมายของถ้อยคำอย่างตรงไปตรงมาเท่านั้น แต่ต้องจับเนื้อความให้ ได้ครบถ้วน แยกแยะ ส่วนที่เป็นความรู้ ความคิด และความรู้สึก ส่วนใดสำคัญ ส่วนใดสำคัญรองลงมา รวมทั้งเสียงของคำ มีท่วงทำนอง ลำนำ และจังหวะเป็นอย่างไร | ||
3. น้ำเสียงของผู้เขียนและสีสันบรรยากาศในการเขียน | ||
ซึ่งอาจเป็นน้ำเสียงแสดงอารมณ์ขัน ล้อเลียน น้ำเสียงอ่อนโยน นุ่มนวล น้ำเสียงประชดประชัน เสียดสี เยาะเย้ย น้ำเสียงโกรธเกรี้ยว แสดงอารมณ์ร้อนแรง น้ำเสียงโศกเศร้า สลดหดหู่ ว้าเหว่ น้ำเสียงปลุกเร้าใจ น้ำเสียงเสียดาย อาลัยอาวรณ์ น้ำเสียงชื่นชม ยกย่อง สรรเสริญ และน้ำเสียงจริงจัง เคร่งขรึม ซึ่งบางครั้งในงานเขียนเดียวกันอาจจะ มีน้ำเสียงหลายลักษณะปะปนกัน | ||
ลักษณะของข้อเขียนที่ต้องใช้การอ่านแบบตีความ | ||
1. เป็นข้อเขียนที่ใช้คำที่มีความหมายโดยนัย หรือความหมายแฝง ซึ่งหมายถึงความหมายในเชิงเปรียบเทียบ หรือความหมายที่ชักนำความคิดให้เกี่ยวโยงไปถึงสิ่งอื่น 2. เป็นข้อเขียนที่มีการเปรียบเทียบ หรือใช้โวหารเชิงเปรียบเทียบ 3. เป็นข้อเขียนที่ใช้สัญลักษณ์ หมายถึงข้อเขียนที่ผู้เขียนกล่าวถึงสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง | ||
ขั้นตอนของการอ่านตีความ | ||
การอ่านตีความนั้น มักนำไปใช้ในงานเขียนที่มีความหมายซ่อนไว้ระหว่างบรรทัด ผู้อ่านต้อง ใส่ใจกับถ้อยคำที่ผู้เขียนเลือกสรรมาใช้ 1. สำรวจงานเขียนนั้นด้วยการอ่านอย่างคร่าว ๆ ว่างานเขียนนั้นเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง หรืองานเขียนประเภทใด เช่น เป็นคำประพันธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น บทความ กวีนิพนธ์ หรือเป็นงานเขียนสั้น ๆ แสดงคติสอนใจ 2. อ่านอีกครั้งอย่างละเอียดเพื่อพิจารณาเนื้อหาว่ามีใจความสำคัญกล่าวถึงเรื่องใด มีข้อความ ส่วนใดกล่าวถึงข้อเท็จจริง ส่วนใดเป็นการแสดงทรรศนะของผู้เขียน ส่วนใดเป็นการแสดงอารมณ์ความรู้สึก
3. วิเคราะห์ถ้อยคำ อาจมีบางคำที่มีความหมายเฉพาะ เช่นเป็นสัญลักษณ์ หรือมีถ้อยคำที่เป็น การกล่าวเชิงเปรียบเทียบ ด้วยการใช้ภาพพจน์ หรือเป็นสำนวนโวหาร เป็นคำที่มีความหมายหลายนัย ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านใช้ความหมายจากถ้อยคำในบริบทนั้นมาพิจารณาประกอบเพื่อให้เข้าใจความหมาย ได้มากชัดเจนยิ่งขึ้น 4. พิจารณารสของคำเพื่อประมวลหาน้ำเสียงของผู้เขียน อาจเป็นน้ำเสียงเชิงสั่งสอน น้ำเสียงแสดงการประชดประชัน น้ำเสียงแสดงความภูมิใจ ยินดี หรือเศร้าสลด เป็นต้น น้ำเสียงเหล่านี้จะสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายของผู้เขียนที่ต้องการสื่อสารมาให้ผู้อ่านพิจารณาใคร่ครวญหรือคิดคล้อยตาม 5. สรุปสารที่ได้จากการตีความข้อเขียนนั้น ๆ การอ่านตีความ ผู้อ่านจะต้องเข้าใจจุดประสงค์ สาร และน้ำเสียงที่อยู่ในงานประพันธ์นั้น เพื่อที่จะได้เข้าใจความคิดเห็น ประสบการณ์ จินตนาการ ฯลฯ ของผู้เขียนที่ส่งผ่านงานประพันธ์นั้น การอ่านตีความควรตีความทั้ง 2 ด้านควบคู่กันไป คือ ตีความด้านเนื้อหา และ ตีความด้านน้ำเสียง จึงจะทำให้เข้าใจสารนั้นได้อย่างถ่องแท้ เช่น “ ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” |
วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การอ่านความตีความ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น