วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การอ่านวิเคราะห์
วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การอ่านความตีความ
1. ความเข้าใจจุดประสงค์หรือเจตนารมณ์ของผู้เขียนและความหมายของสิ่งที่ผู้เขียนได้เขียน | ||
การแสดงเจตนาของผู้เขียนนั้นมีทั้งแสดงไว้ โดยชัดเจนและโดยซ่อนเร้น การแสดงเจตนาโดยชัดเจน ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องใช้ความคิด พิจารณามากมายนัก การแสดงเจตนาโดยซ่อนเร้น คือ ไม่บอกเจตนาตรง ๆ กล่าวถึงเรื่องหนึ่งแต่ มีความหมายถึงสิ่งหนึ่งก็ได้ การเข้าใจความหมายของ เจตนาดังกล่าว ผู้อ่านจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และเข้าถึงความหมายของคำและข้อความนั้น ๆ เสียก่อน | ||
2. แนวคิดสำคัญที่ได้จากการอ่าน | ||
ที่ผู้เขียนอาจเสนออย่างจงใจหรือไม่จงใจก็ได้ การค้นหาสารเป็นขั้นตอนสำคัญในการเข้าถึงเรื่องที่อ่าน ซึ่งผู้อ่านต้องมีความรู้ ความสามารถในการอ่านและเข้าใจโครงสร้างของงานประพันธ์แต่ละประเภทให้ชัดเจน การค้นหาสารำสำคัญมิใช่การแปลความหมายของถ้อยคำอย่างตรงไปตรงมาเท่านั้น แต่ต้องจับเนื้อความให้ ได้ครบถ้วน แยกแยะ ส่วนที่เป็นความรู้ ความคิด และความรู้สึก ส่วนใดสำคัญ ส่วนใดสำคัญรองลงมา รวมทั้งเสียงของคำ มีท่วงทำนอง ลำนำ และจังหวะเป็นอย่างไร | ||
3. น้ำเสียงของผู้เขียนและสีสันบรรยากาศในการเขียน | ||
ซึ่งอาจเป็นน้ำเสียงแสดงอารมณ์ขัน ล้อเลียน น้ำเสียงอ่อนโยน นุ่มนวล น้ำเสียงประชดประชัน เสียดสี เยาะเย้ย น้ำเสียงโกรธเกรี้ยว แสดงอารมณ์ร้อนแรง น้ำเสียงโศกเศร้า สลดหดหู่ ว้าเหว่ น้ำเสียงปลุกเร้าใจ น้ำเสียงเสียดาย อาลัยอาวรณ์ น้ำเสียงชื่นชม ยกย่อง สรรเสริญ และน้ำเสียงจริงจัง เคร่งขรึม ซึ่งบางครั้งในงานเขียนเดียวกันอาจจะ มีน้ำเสียงหลายลักษณะปะปนกัน | ||
ลักษณะของข้อเขียนที่ต้องใช้การอ่านแบบตีความ | ||
1. เป็นข้อเขียนที่ใช้คำที่มีความหมายโดยนัย หรือความหมายแฝง ซึ่งหมายถึงความหมายในเชิงเปรียบเทียบ หรือความหมายที่ชักนำความคิดให้เกี่ยวโยงไปถึงสิ่งอื่น 2. เป็นข้อเขียนที่มีการเปรียบเทียบ หรือใช้โวหารเชิงเปรียบเทียบ 3. เป็นข้อเขียนที่ใช้สัญลักษณ์ หมายถึงข้อเขียนที่ผู้เขียนกล่าวถึงสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง | ||
ขั้นตอนของการอ่านตีความ | ||
การอ่านตีความนั้น มักนำไปใช้ในงานเขียนที่มีความหมายซ่อนไว้ระหว่างบรรทัด ผู้อ่านต้อง ใส่ใจกับถ้อยคำที่ผู้เขียนเลือกสรรมาใช้ 1. สำรวจงานเขียนนั้นด้วยการอ่านอย่างคร่าว ๆ ว่างานเขียนนั้นเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง หรืองานเขียนประเภทใด เช่น เป็นคำประพันธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น บทความ กวีนิพนธ์ หรือเป็นงานเขียนสั้น ๆ แสดงคติสอนใจ 2. อ่านอีกครั้งอย่างละเอียดเพื่อพิจารณาเนื้อหาว่ามีใจความสำคัญกล่าวถึงเรื่องใด มีข้อความ ส่วนใดกล่าวถึงข้อเท็จจริง ส่วนใดเป็นการแสดงทรรศนะของผู้เขียน ส่วนใดเป็นการแสดงอารมณ์ความรู้สึก 3. วิเคราะห์ถ้อยคำ อาจมีบางคำที่มีความหมายเฉพาะ เช่นเป็นสัญลักษณ์ หรือมีถ้อยคำที่เป็น การกล่าวเชิงเปรียบเทียบ ด้วยการใช้ภาพพจน์ หรือเป็นสำนวนโวหาร เป็นคำที่มีความหมายหลายนัย ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านใช้ความหมายจากถ้อยคำในบริบทนั้นมาพิจารณาประกอบเพื่อให้เข้าใจความหมาย ได้มากชัดเจนยิ่งขึ้น 4. พิจารณารสของคำเพื่อประมวลหาน้ำเสียงของผู้เขียน อาจเป็นน้ำเสียงเชิงสั่งสอน น้ำเสียงแสดงการประชดประชัน น้ำเสียงแสดงความภูมิใจ ยินดี หรือเศร้าสลด เป็นต้น น้ำเสียงเหล่านี้จะสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายของผู้เขียนที่ต้องการสื่อสารมาให้ผู้อ่านพิจารณาใคร่ครวญหรือคิดคล้อยตาม 5. สรุปสารที่ได้จากการตีความข้อเขียนนั้น ๆ การอ่านตีความ ผู้อ่านจะต้องเข้าใจจุดประสงค์ สาร และน้ำเสียงที่อยู่ในงานประพันธ์นั้น เพื่อที่จะได้เข้าใจความคิดเห็น ประสบการณ์ จินตนาการ ฯลฯ ของผู้เขียนที่ส่งผ่านงานประพันธ์นั้น การอ่านตีความควรตีความทั้ง 2 ด้านควบคู่กันไป คือ ตีความด้านเนื้อหา และ ตีความด้านน้ำเสียง จึงจะทำให้เข้าใจสารนั้นได้อย่างถ่องแท้ เช่น “ ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” |
การอ่านให้ผู้อื่นฟัง
การอ่านให้ผู้อื่นฟัง อันได้แก่ ทักษะการหายใจ ทักษะการใช้เสียงและทักษะการทรงตัว เป็นทักษะพื้นฐานให้การอ่านให้ผู้อื่นฟังโดยทั่วไป แต่ถ้าเป็นการอ่านทางวิทยุโทรทัศน์และในที่ชุมนุมชนที่เป็นทางการ ยังต้องมีทักษะอื่น ๆ อีกหลายประการ อาทิ
1) การแต่งกาย
ผู้ทำหน้าที่อ่านทางวิทยุโทรทัศน์ มักเป็นรายการ ข่าว รายการอภิปรายสัมภาษณ์ซึ่งเป็นทางการหรือกึ่งทางการ การแต่งตัวจึงควรพิจารณาตามความเหมาะสม ไม่ควรให้หรูหรามากนักเพราะมิใช่การแสดงละคร จุดสนใจของผู้ชมอยู่ที่เนื้อหาของการอ่านมิใช่ที่เสื้อผ้าของผู้อ่านสีที่ใช้ไม่ควรลวดลายมากเพราะจะทำให้ผู้ชมตาลาย ไม่ควรใช้เนื้อผ้าที่เป็นมันระยับหรือเครื่องประดับที่แวววาวเกินไป เพราะจะสะท้อนแสงมาก การแต่งหน้าควรให้กลมกลืนกับผิวสิ่งเหล่านี้แม้ไม่เกี่ยวกับการอ่านโดยตรง แต่ก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเพราะมีผลต่อบุคลิกภาพของผู้อ่านด้วยการอ่านในที่ชุมนุมชน เช่น การอ่านสุนทรพจน์ ก็อาศัยหลักการแต่งกายเช่นเดียวกันคือ สุภาพ ไม่ฉูดฉาดบาดตาจนเกินไป
2) กิริยาอาการ
การอ่านทางวิทยุโทรทัศน์ ผู้ชมจะสังเกตสีหน้าและกิริยาอาการของผู้อ่านได้อย่างถนัดผู้อ่านควรวางสีหน้าอย่างสบายๆ อาจยิ้มน้อย ๆ ให้ดูเป็นธรรมชาติการเคลื่อนไหวใบหน้าหรือร่างกายควรนุ่มนวล ไม่หลุกหลิก สายตาควรมองกล้องเป็นส่วนใหญ่ผู้ชมจะได้รู้สึกว่าพูดกับตน การวางมือ การนั่ง หรือการยืนควรสุภาพและผ่อยคลาย ไม่ระมัดระวังจนกลายเป็นการเกร็งตัว ซึ่งจะทำให้ผู้ชมรู้สึกไม่สบายตา
3) การใช้สายตา
การอ่านทางวิทยุโทรทัศน์และในที่ชุมชน ต่างกับการอ่านทางวิทยุกระจายเสียงหรืออ่านในกลุ่มมิตรสหาย การอ่านที่ปรากฏอย่างเป็นทางการนั้น ผู้อ่านจะต้องเงยหน้าสบตาผู้ชมเป็นระยะๆ ฉะนั้น จึงต้องมีทักษะการกรวดสายตาอ่านอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษมิใช่ก้มอ่านตลอดหรือเงยหน้าแล้วเสียจังหวะการอ่าน ไม่ว่าจะก้มหน้าหรือเงยหน้า การอ่านจะต้องราบรื่น ไม่สะดุดหรือติดขัดจนเป็นที่สังเกตได้ หากมีอุปสรรคในการอ่าน เช่น กระแอมหรือสำลัก ควรกล่าวคำขออภัยแล้วอ่านต่อไป ไม่ควรตกใจจนลืมว่าอ่านถึงที่ใด เพราะจะทำให้หยุดชะงักอีก
1) การแต่งกาย
ผู้ทำหน้าที่อ่านทางวิทยุโทรทัศน์ มักเป็นรายการ ข่าว รายการอภิปรายสัมภาษณ์ซึ่งเป็นทางการหรือกึ่งทางการ การแต่งตัวจึงควรพิจารณาตามความเหมาะสม ไม่ควรให้หรูหรามากนักเพราะมิใช่การแสดงละคร จุดสนใจของผู้ชมอยู่ที่เนื้อหาของการอ่านมิใช่ที่เสื้อผ้าของผู้อ่านสีที่ใช้ไม่ควรลวดลายมากเพราะจะทำให้ผู้ชมตาลาย ไม่ควรใช้เนื้อผ้าที่เป็นมันระยับหรือเครื่องประดับที่แวววาวเกินไป เพราะจะสะท้อนแสงมาก การแต่งหน้าควรให้กลมกลืนกับผิวสิ่งเหล่านี้แม้ไม่เกี่ยวกับการอ่านโดยตรง แต่ก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเพราะมีผลต่อบุคลิกภาพของผู้อ่านด้วยการอ่านในที่ชุมนุมชน เช่น การอ่านสุนทรพจน์ ก็อาศัยหลักการแต่งกายเช่นเดียวกันคือ สุภาพ ไม่ฉูดฉาดบาดตาจนเกินไป
2) กิริยาอาการ
การอ่านทางวิทยุโทรทัศน์ ผู้ชมจะสังเกตสีหน้าและกิริยาอาการของผู้อ่านได้อย่างถนัดผู้อ่านควรวางสีหน้าอย่างสบายๆ อาจยิ้มน้อย ๆ ให้ดูเป็นธรรมชาติการเคลื่อนไหวใบหน้าหรือร่างกายควรนุ่มนวล ไม่หลุกหลิก สายตาควรมองกล้องเป็นส่วนใหญ่ผู้ชมจะได้รู้สึกว่าพูดกับตน การวางมือ การนั่ง หรือการยืนควรสุภาพและผ่อยคลาย ไม่ระมัดระวังจนกลายเป็นการเกร็งตัว ซึ่งจะทำให้ผู้ชมรู้สึกไม่สบายตา
3) การใช้สายตา
การอ่านทางวิทยุโทรทัศน์และในที่ชุมชน ต่างกับการอ่านทางวิทยุกระจายเสียงหรืออ่านในกลุ่มมิตรสหาย การอ่านที่ปรากฏอย่างเป็นทางการนั้น ผู้อ่านจะต้องเงยหน้าสบตาผู้ชมเป็นระยะๆ ฉะนั้น จึงต้องมีทักษะการกรวดสายตาอ่านอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษมิใช่ก้มอ่านตลอดหรือเงยหน้าแล้วเสียจังหวะการอ่าน ไม่ว่าจะก้มหน้าหรือเงยหน้า การอ่านจะต้องราบรื่น ไม่สะดุดหรือติดขัดจนเป็นที่สังเกตได้ หากมีอุปสรรคในการอ่าน เช่น กระแอมหรือสำลัก ควรกล่าวคำขออภัยแล้วอ่านต่อไป ไม่ควรตกใจจนลืมว่าอ่านถึงที่ใด เพราะจะทำให้หยุดชะงักอีก
การอ่านในใจ
การอ่านในใจเป็นการอ่านที่ต้องไม่ออกเสียงในการอ่าน ผู้อ่านอ่านตัวหนังสือแล้วเก็บความ แปลความตามความเข้าใจของผู้อ่าน จุดประสงค์ของการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับสารเพียงประการเดียว
หลักการอ่านในใจมีดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการอ่าน
การกำหนดจุดมุ่งหมายในการอ่านให้ชัดเจนก็เพื่อให้อ่านได้ตรงจุดประสงค์ เช่น ถ้าอ่านเพื่อความรู้ก็ต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้และจดจำเรื่องให้ได้ ถ้าอ่านเพื่อความบันเทิงก็ไม่จำเป็นต้องจำเรื่องทั้งหมดให้ได้เพียงแค่รู้สึกสนุกสนานและผ่อนคลายเมื่ออ่านเท่านั้น และถ้าอ่านเพื่อนำไปใช้ก็ต้องอ่านอย่างละเอียด และทำความเข้าใจให้ชัดเจนเพื่อจะสามารถนำไปใช้หรือปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
2. มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
ถ้าผู้อ่านมีประสบการณ์หรือรู้เรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านจะทำให้เข้าใจเรื่องได้ดีขึ้น เช่น เมื่ออ่านเรื่องเกี่ยวกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็ควรมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยในสมัยอยุธยาบ้าง เพื่อให้เข้าใจความเป็นมาของสถานที่ต่าง ๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย เป็นต้น
3. รู้และเข้าใจความหมายของคำศัพท์หรือสำนวน
การรู้ความหมายของคำศัพท์หรือสำนวนที่พบในการอ่านจะช่วยให้เข้าใจข้อความที่อ่านได้มากขึ้น เช่น “สิ่งที่สำคัญที่สุดในจริยวัตรของมนุษย์คือ ต้องพยายามที่จะไม่ให้เวลาล่วงไปโดยเสียประโยชน์ เราต้องตีราคาคุณค่าของเวลาให้สูงมาก การเสียเวลาก็เท่ากับเสียทรัพย์ เสียโอกาส เสียหนทางแห่งความก้าวหน้า และเป็นการสูญเสียที่เราไม่สามารถจะโทษผู้อื่นได้ นอกจากตัวเราเอง
คำศัพท์ จริยวัตร หมายถึง หน้าที่ที่พึงประพฤติปฏิบัติ
ล่วง หมายถึง ผ่านข้ามจากจุดหนึ่งเข้าไปยังอีกจุดหนึ่ง
สำนวน ตีราคา หมายถึง ประเมินค่า ให้ราคาสิ่งนั้น ๆ
นอกจากการเข้าใจคำศัพท์และสำนวนที่จะช่วยให้เราอ่านได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็วยิ่งขึ้นแล้ว บางครั้งในข้อความที่เราอ่านก็มีคำศัพท์บางคำที่เราไม่พบในพจนานุกรม แต่ข้อความแวดล้อมในเรื่องที่เราอ่านนั้นก็ช่วยให้เราสามารถเข้าใจคำศัพท์นั้นได้ คำหรือข้อความแวดล้อมที่ช่วยเราให้เข้าใจความหมาย เราเรียกว่า “บริบท” เช่น
คำเช้าเอากรวดกวาดเตียน เหนื่อยยากพากเพียร
เรียนธรรมบำเพ็งเคร่งครัด
(กาพย์พระไชยสุริยา สุนทรภู่)
เราอาจเข้าใจความหมายของคำว่า “กรวด” ได้ว่าหมายถึง ไม้กวาด เมื่อพอคำกริยา “กวาด” ที่ตามมา ส่วนคำว่า “บำเพ็ง” เราก็เข้าใจว่าหมายถึง บำเพ็ญ ปฏิบัติธรรม จากคำว่า เรียนธรรม ที่อยู่ในวรรคเดียวกัน
4. จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านได้
เมื่ออ่านเรื่องแล้วสามารถตอบคำถามได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เช่น
“นักล้วงกระเป๋าชอบสถานที่ซึ่งมีผู้คนเบียดเสียดกันจริงหรือ คำตอบคือ ไม่จำเป็น มนุษย์มีสัญชาตญาณที่ไม่ต้องการให้ใครมารุกล้ำพื้นที่ส่วนตัว ดังนั้นในบริเวณแออัด ผู้คนจึงมักระวังตัวมากขึ้น นักล้วงกระเป๋ามืออาชีพชอบเหยื่อซึ่งปล่อยตัวตามสบายและกำลังจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากว่า
ร้านขายเสื้อผ้าเป็นสถานที่เหมาะสำหรับนักล้วงกระเป๋าอย่างผม เพราะองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในร้านสามารถใช้เป็นฉากกำบังการทำงานได้อย่างดี แถมลูกค้าจำนวนมากเดินพลุกพล่านหมุนเวียนบริเวณชั้นวางสินค้าตลอดเวลา ซึ่งช่วยหันเหความสนใจเวลาพวกเขาหยิบคลี่และพับเก็บสินค้าเข้าที่ หากมียามรักษาความปลอดภัยในเครื่องแบบเดินตรวจตราไปมาให้เห็นจะยิ่งเป็นผลดี เพราะเหยื่อจะละเลยไม่ระมัดระวังซึ่งเปิดโอกาสให้นักล้วงทำงานง่ายขึ้น”
(กลเม็ดนักล้วงกระเป๋า รีดเดอร์ส ไดเจสท์ สรรสาระ)
ใจความสำคัญของเรื่องคือ นักล้วงกระเป๋าชอบล้วงกระเป๋าในที่ที่เหยื่อปล่อยตัวตามสบายและกำลังจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น ในร้านขายเสื้อผ้า เป็นต้น
5. วินิจฉัยสารหรือตีความเรื่องที่อ่านได้
การตีความเรื่องที่อ่าน คือ สามารถพิจารณาเรื่องที่อ่านให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีก การตีความต้องวิเคราะห์และบอกได้ว่าสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อให้ผู้อ่านทราบมีข้อคิดหรือเจตนาอื่นในเรื่องนั้นอย่างไร ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น การอนุมานหรือสรุปความจากเรื่องที่อ่าน การทำนายเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่จะเกิดขึ้น การคัดเลือกและจัดรวบรวม เป็นต้น ตัวอย่างการตีความเรื่องที่อ่าน เช่น
โคควายวายชีพได้ เขาหนัง
เป็นสิ่งเป็นอันยัง อยู่ไซร้
คนเด็ดดับสูญสัง- ขารร่าง
เป็นชื่อเป็นเสียงได้ แต่ร้ายกับดี
(โคลงโลกนิติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร)
ตีความจากเรื่องที่อ่านได้ว่า เราควรทำความดีเพราะสิ่งที่เหลืออยู่หลังจากที่เราตายไปแล้วคือความดีและความชั่วที่เราได้ทำไว้เท่านั้น
การอ่านในใจเป็นทักษะที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันเสมอ เมื่อเราฝึกอ่านอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เรามีพัฒนาการในการอ่านได้ดีขึ้นเป็นลำดับ และนำไปสู่การอ่านในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
จุดมุ่หมายของการอ่าน
การอ่านจากหนังสือและสื่อแต่ละครั้งของแต่ละคนจะมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกันออกไป อาจจำแนกได้กว้าง ๆ ดังนี้
๑) การอ่านเพื่อหาความรู้
การอ่านเพื่อหาความรู้ ได้แก่ การอ่านหนังสือจากหนังสือประเภทตำราทางวิชาการ สารคดีทางวิชาการ การวิจัยประเภทต่าง ๆ หรือการอ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การอ่านจากหนังสือที่มีสาระเดียวกันควรอ่านจากผู้เขียนหลาย ๆ คน เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของเนื้อหา ผู้อ่านจะได้มีมุมมองที่กว้างขึ้น มีความรอบรู้ได้แนวคิดที่หลากหลาย และไม่ควรอ่านเฉพาะในเนื้อหาวิชาที่ตนชอบเท่านั้น ควรอ่านอย่างหลากหลายเพราะความรู้ในวิชาหนึ่ง อาจนำไปช่วยเสริมในอีกวิชาหนึ่งได้
๒) การอ่านเพื่อความบันเทิง
การอ่านเพื่อความบันเทิงได้แก่ การอ่านจากหนังสือประเภทสารคดีท่องเที่ยว นวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล การ์ตูน บทประพันธ์ บทเพลง แม้จะเป็นการอ่านเพื่อความบันเทิง แต่ผู้อ่านจะได้ความรู้ที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องด้วย การอ่านประเภทนี้มีข้อควรระวังว่าปัจจุบันหนังสือบางชนิดมีเนื้อหาสาระและรูปภาพที่ขัดต่อวัฒนธรรมและจารีตประเพณีไทย ผู้อ่านจึงควรพิจารณาเลือกให้ดี
๓) การอ่านเพื่อทราบข่าวสาร ความคิด
การอ่านเพื่อทราบข่าวสาร ความคิด ได้แก่ การอ่านหนังสือประเภทบทความ บทวิจารณ์ ข่าว รายงานการประชุม ข้อควรระวังในกาอ่านประเภทนี้ คือ ผู้อ่านมักเลือกอ่านสื่อที่สอดคล้องกับความคิดและความชอบของตน จึงทำให้ปิดกั้นการรับรู้และแนวคิดด้านอื่น ๆ ดังนั้น ถ้าจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต้องเลือกอ่านอย่างหลากหลายไม่เจาะจงอ่านเฉพาะสื่อที่นำเสนอตรงกับความคิดของตน เพราะจะทำให้มีมุมมองที่กว้างขึ้นอันจะช่วยให้เรามีเหตุผลอื่นๆ มาประกอบการวิจารณ์ วิเคราะห์ได้ลุ่มลึกมากขึ้น
๔) การอ่านเพื่อจุดประสงค์เฉพาะแต่ละครั้ง
การอ่านเพื่อจุดประสงค์เฉพาะแต่ละครั้ง ได้แก่ การอ่านที่ไม่ได้เจาะจง แต่เป็นการอ่านเป็นครั้งคราวในเรื่องที่ตนสนใจหรืออยากรู้ เช่น การอ่านประกาศต่าง ๆ การอ่านโฆษณา แผ่นพับประชาสัมพันธ์ สลากยา การอ่านสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง การอ่านข่าวสังคม ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา การอ่านประเภทนี้มักใช้เวลาไม่นานและไม่กระทำทุกวัน ส่วนใหญ่เป็นการอ่านเพื่อให้ความรู้แนะนำไปใช้ หรือนำไปเป็นหัวข้อสนทนา บางครั้งก็เพื่อฆ่าเวลา
ความสำคัญและประโยชน์ของการอ่าน
การอ่าน หมายถึง การแปลความหมายของตัวอักษรที่อ่านออกมาเป็นความรู้ความคิด และเกิดความเข้าใจเรื่องราวที่อ่านตรงกับเรื่อราวที่ผู้เขียนเขียน ผู้อ่านสามารถนำความรู้ ความคิด หรือสาระจากเรื่องราวที่อ่านไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ การอ่านจึงมีความสำคัญ ดังนี้
๑) การอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน จำเป็นต้องอ่านหนังสือเพื่อการศึกษาหาความรู้ด้านต่าง ๆ
๒) การอ่านเป็นเครื่องมือช่วยให้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ เพราะสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปพัฒนางานของตนได้
๓) การอ่านเป็นเครื่องมือสืบทอดทางวัฒนธรรมของคนรุ่นต่อ ๆ ไป
๔) การอ่านเป็นวิธีการส่งเสริมให้คนมีความคิดอ่านและฉลาดรอบรู้ เพราะประสบการณ์ที่ได้จากการอ่านเมื่อเก็บสะสมเพิ่มพูนนานวันเข้า ก็จะทำให้เกิดความคิด เกิดสติปัญญา เป็นคนฉลาดรอบรู้ได้
๕) การอ่านเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลินบันเทิงใจ เป็นวิธีหนึ่งในการแสวงหาความสุขให้กับตนเองที่ง่ายที่สุด และได้ประโยชน์คุ้มค่าที่สุด
๖) การอ่านเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งด้านจิตใจและบุคลิกภาพ เพราะเมื่ออ่านมากย่อมรู้มาก สามารถนำความรู้ไปใช่ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
๗) การอ่านเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบการเมือง การปกครอง ศาสนา ประวัติศาสตร์ และสังคม
๘) การอ่านเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาระบบการสื่อสารและการใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)